หลักการ cellular radio ระบบต่างๆ

หลักการของ (Cellular radio)

  มีชื่อเรียกอีกอย่างอื่น ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือเป็นการใช้คลื่นวิทยุในการรับ-ส่งเสียงสนทนาหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้ระบบเพจจิง (Paging system)ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ / เคลื่อนที่(Cellular / Mobile Phones)
ระบบโทรศัพท์ดาวเทียม (Satellite Phones)
ระบบโทรศัพท์พีซีเอส (Personal Communications Services)ระบบเพจจิง (Paging system)
ระบบจะทำงานต่อเมื่อมีผู้ส่งข้อความถึงผู้ใช้ผ่านบริษัทเพจจิงเครื่องคอมพิวเตอร์ของระบบจะส่งข้อมูลผ่านสายพื้นดินไปยังเสาอากาศเสาอากาศจะส่งข้อมูลไปยังดาวเทียมเพื่อแพร่ข้อมูลไปยังเครื่องรับ(beeper)ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phones)
ระบบเซลลูลาร์ที่ส่งข้อมูลทั้งแบบ analog และ digital มีหลายระบบ เช่น
GSM - Global System for Mobiletelephones
ในบริการในคลื่นความถี่ 850-1900 Mhz มีทั้งระบบ dual-band, tri-band และ quad-band
AMPS - Advanced Mobile Phone System (800 Mhz) ส่งข้อมูล analog
TACS - Total Access Communications Service
(900 Mhz)ส่งข้อมูล analog
โทรศัพท์ดาวเทียม (Satellite Phones)
ใช้ได้เกือบทุกพื้นที่บนโลก รับส่งสัญญาณข้อมูลด้วยดาวเทียม
จำเป็นต้องใช้หลายระบบของโทรศัพท์เคลื่อนที่ผสมผสานกัน เช่นโทรศัพท์ Qualcomm's GSP1600 ใช้ระบบ AMPS และ CDMA
ใช้หลักเดียวกับระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์/เคลื่อนที่ เพียงแต่ขนาดของเซลล์ทีขนาดเล็กกว่าเพียง 50-100 เมตร
ระบบนี้ต้องการกำลังของสัญญาณต่ำ ทำให้เครื่องโทรศัพท์และสถานีฐานมีขนาดเล็กและราคาถูก แต่ต้องใช้สถานีจำนวนมาก
เช่น โทรศัพท์ PCT, CDMA (Code Division Multiple Access)
PDC (Personal Digital Cellular ใช้เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น)
เป็นต้น
หลักในการเลือกใช้สื่อข้อมูล
Cost ค่าใช้จ่าย
Speed ความเร็วในการส่งข้อมูล
Expansion การขยายระบบ
Signal degradation การอ่อนของสัญญาณ
Interference การป้องกันการถูกรบกวนของสัญญาณ

ปัจจุบันนี้ มีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูล่าร์เป็นจำนวนมากผู้ใช้ บริการมีอยู่ทุกหนแห่งครอบคลุมพื้นที่บริการมากขึ้น การขยายบริการอาจยังไม่ครอบคลุม พื้นที่ที่มีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างหนาแน่น ดังนั้นบางพื้นที่ระดับความแรงของ สัญญาณพาหะต่อสัญญาณรบกวนหรือสัญญาณพาหะต่อสัญญาณสอดแทรก (C/N หรือ C/I) ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำซึ่งอาจเกิดจากระดับของสัญญาณรบกวนมีค่าสูง เช่น สัญญาณรบ กวนจากช่องสัญญาณความถี่เดียวกันแต่อยู่ต่างเซล (Cochannel Interference) และจากช่อง สัญญาณข้างเคียง (Adjacent Interference) หรือเกิดจากพื้นที่รับสัญญาณอยู่ห่างไกลจาก สถานีเครือข่ายหรือมีสิ่งกีดขวางทางเดินของคลื่นทำให้พื้นที่ให้บริการครอบคลุมไปไม่ถึง1. ทฤษฎีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูล่าร์ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูล่าร์ ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นระบบที่ผลิตโดย บริษัทโมโตโรล่าประเทศสหรัฐอเมริกา ความถี่ 800 MHz AMPS (Avance Mobile Phone Systems) ส่วนประกอบของโทรศัพท์เคลื่อนที่มี 3 ส่วนคือ 
1. ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Electronic Mobile Exchange) หรือ EMX 
2. สถานีเครือข่าย (Cell Site)
3. เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Telephone)
ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่ให้หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ดำเนิน การสลับสายต่อให้ผู้ใช้บริการ ตลอดจนควบคุมสถานีเครือข่ายและโทรศัพท์เคลื่อนที่และ บันทึกการใช้โทรศัพท์ส่วนสถานีเครือข่ายทำหน้าที่เป็นตัวกลางการรับส่งสัญญาณคลื่น วิทยุระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่กับชุมสายสถานีเครือข่ายหนึ่ง ๆ จะให้บริการแก่โทรศัพท์ เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่ที่สัญญาณส่งไปถึง หรือเรียกพื้นที่นี้ว่าพื้นที่ให้บริการ (Service Area)

วิทยุเซลลูลาร์ (Cellular radio) มีชื่อเรียกอีกอย่างอื่น ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ เป็นการใช้คลื่นวิทยุในการรับ-ส่งเสียงสนทนาหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้ ระบบเพจจิง (Paging system) ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ / เคลื่อนที่ (Cellular / Mobile Phones) ระบบโทรศัพท์ดาวเทียม (Satellite Phones) ระบบโทรศัพท์พีซีเอส (Personal Communications Services) ชนิดของสื่อ ความเร็ว สายยูทีพี (Cat1-5) 1-100 Mbps สาย T-1, T-2, T-3, T-4 1.5, 6.3, 45 และ 274 Mbps สายโคแอกเซียล 1-100 Mbps สายใยแก้วนำแสง 2 Gbps ไมโครเวฟบนดิน 45 Mbps ไมโครเวฟดาวเทียม 50 Mbps วิทยุเซลลูลาร์ 2 Mbps อินฟราเรด 1-4 Mbps ข้อดีคือ ความยืดหยุ่นและเคลื่อนย้ายได้ง่าย ข้อเสียคือ ส่งขอ้มูลได้ช้าและสัญญานถูกรบกวนได้ง่าย ถ้าจะใช้ต่อเน็ตควรใช้สาย UTP ดีกว่าเพราะหาง่ายและถูกแล้วยังส่งข้อมูลได้ดีอีก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การทำงานของบล็อกไดอะแกรมเครื่องรับวิทยุAM

การทำงานบล็อกไดอะแกรมของเครื่องส่งวิทยุ AM , FM

การทำงานบล็อกไดอะแกรมวงจรเครื่องรับ - ส่งวิทยุสื่อสาร