การทำงานของบล็อกไดอะแกรมเครื่องส่งวิทยุAM,FM

การทำงานของบล็อกไดอะแกรมเครื่องส่งวิทยุAM,FM

การทำงานของบล็อกไดอะแกรมเครื่องส่งวิทยุAM

เมื่อมีการออกอาอาศ สัญญาณเสียงต่างๆ ที่มีความถี่ต่ำมนุษย์สามารถได้ยินได้ในระยะใกล้นั้น จะถูกส่งไปเปลี่ยนรูปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าทางไมโครโฟน(หรืออุปกรณ์อื่น) คลื่นที่ถูกเปลี่ยนจะถูกนำไปที่ตัวเครื่องส่ง (Transmitter)ปรับกับคลื่นสัญญาณอีกตัวหนึ่ง ซึ่งมีความถี่สูงมาก เรียกว่าคลื่นนำพา โดยคลื่นนำพานี้จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสถานีเช่น สถานี ก. มีคลื่นนำพาที่มีค่าความถี่หนึ่ง ส่วนสถานี ข. จะมีีคลื่นนำพาที่มีค่าความถี่อีกค่าอีกหนึ่ง ซึ่งต้องต่างจากสถานี ก. รวมถึงสถานีอื่นๆที่มีการตั้งอยู่ก่อนด้วย โดยคลื่นเสียงที่เข้ามาจะไปบังคับให้คลื่นนำพามีการเปลี่ยนแปลงแอมพลิจูดตามคลื่นเสียงแต่มีความถี่เท่าเดิม ซึ่งคลื่นตัวนี้จะถูกส่งออกไปในอากาศจากเสาส่ง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการส่งสัญญาณ

การทำงานของบล็อกไดอะแกรมเครื่องส่งวิทยุFM

หลังจากที่ได้รับตัวสัญญาณเสียงจากไมโครโฟนหรือแหล่งเสียงอื่นๆแล้ว สัญญาณเสียงจะถูกเปลี่ยนรูปเป็นสัญญาณไฟฟ้า สัญญาณไฟฟ้านั้นจะถูกนำไปเข้าระบบ Amplifier เพื่อขยายกำลังของสัญญาณเสียงที่ได้ หลังจากขยายแล้ว ก็จะนำส่งต่อไปยังภาคของModulation โดยสัญญาณที่จะนำมาModulation ด้วยนั้นคือสัญญาณจากตัวOscillator ซึ่งจะผลิตความถี่ได้ในช่วง 88 - 108 MHz ในการส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างจุดสองจุดจะต้องผ่านสื่อกลางหรือตัวกลาง (Media) เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อในการส่งข้อมูลข่าวสาร สามารถแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบด้วยกัน ดังนี้


1. ระบบที่ใช้สัญญาณไฟฟ้าเป็นพาหะ (Electrical Base Systems) ได้แก่ ระบบโทรศัพท์สาธารณะ ระบบโทรศัพท์บ้านทั่วไป ระบบสื่อสารข้อมูลแบบใช้สาย ระบบโทรเลขในอดีต เป็นต้น

2. ระบบที่ใช้คลื่นวิทยุเป็นพาหะ (Radio Base Systems) ได้แก่ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบวิทยุติดตามตัว ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบวิทยุกระจายเสียง และระบบไมโครเวฟ เป็นต้น

3. ระบบที่ใช้คลื่นแสงเป็นพาหะ (Light Base Systems) ได้แก่ ระบบสื่อสารข้อมูลผ่านแสงอินฟราเรดที่นำไปประยุกต์ใช้ เช่น ระบบเครือข่าย LAN ไร้สาย บลูทูธ (Bluetooth) เส้นใยนำแสง (Fiber Optic) รีโมทคอลโทรล (Remote Control) คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) เลเซอร์ (Laser) เป็นต้น

สำหรับระบบการสื่อสารไร้สายอยู่หลายรูปแบบ เช่น วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และสาเหตุสำคัญที่ทำให้การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีบทบาทในปัจจุบัน เนื่องจากการวางสายสื่อสารแบบที่ต้องเดินสายสัญญาณในบางพื้นที่นั้นไม่สามารถทำได้ หรืออาจทำได้แต่ไม่คุ้มค่าทั้งในแง่การลงทุน การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง เป็นต้น ในการสื่อสารระบบไร้สายสื่อตัวกลางจะมีคุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะมีความถี่ในระดับต่าง ๆ ดังนั้นในการจัดสรรการใช้ความถี่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

การประยุกต์ใช้งานสำหรับด้านการสื่อสารต่าง ๆ มีดังนี้

· - ระบบวิทยุสื่อสารในแบบสองทิศทาง

· - ระบบวิทยุติดตามตัว

· - ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่

· - ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม

· - ระบบสื่อสารด้วยระบบแสงอินฟราเรด

· - ระบบการสื่อสารส่วนบุคคล PCS/PCN


· - ระบบวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การทำงานของบล็อกไดอะแกรมเครื่องรับวิทยุAM

การทำงานบล็อกไดอะแกรมของเครื่องส่งวิทยุ AM , FM

การทำงานบล็อกไดอะแกรมวงจรเครื่องรับ - ส่งวิทยุสื่อสาร