การทำงาน เครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร
การทำงาน เครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร
วิทยุสื่อสาร
วิทยุสื่อสาร หรือเรียกอีกชื่อว่า วิทยุคมนาคม เป็นอุปกรณ์ที่แปลงกระแสไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบเป็น ภาครับ และ ภาคส่ง แผ่กระจายคลื่นวิทยุออกทางสายอากาศ เป็นเครื่องมือในการสื่อสารชนิดกึ่งสองทาง ถูกนำมาใช้งานในหลายประเภท เช่น วิทยุราชการ วิทยุสมัครเล่น และวิทยุภาคประชาชน เป็นต้น
ทำงานโดยแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กแบ่งเป็นภาครับ และภาคส่งแผ่กระจายคลื่นวิทยุออกทางสายอากาศ คลื่นวิทยุ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถูกคิดค้นโดยเจมส์แมกซ์เวลล์ (James c. Maxwell) เมื่อสามร้อยกว่า ปีมาแล้ว(ปี ค.ศ.1864) ต่อมา ไฮริชเฮิรตซ์ (Heinrich Hertz) เป็นผู้ทดลองพิสูจน์ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เป็น
ส่วนประกอบวิทยุสื่อสาร
ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
ตัวเครื่อง
ตัวเครื่องของวิทยุสื่อสารจะมีส่วนที่ประกอบไปด้วยแผงวงจรและอุปกรณ์ต่างๆที่เครื่องวิทยุสื่อสารแต่ละรุ่นถูกออกแบบมา
แหล่งพลังงาน
แหล่งพลังงานคือตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนที่จะป้อนพลังงานให้กับตัวเครื่องให้เครื่องวิทยุสื่อสารสามารถทำงานได้ ซึ่งจะมีทั้งแบบแหล่งพลังงานแบบแบตเตอรี่แพค(battery pack) และแบบไฟฟ้ากระแสตรง(DC volts)
สายอากาศ
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับสัญญาณวิทยุ ที่อยู่ในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาในตัวเครื่องเพื่อผ่านการแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า และในทางกลับกันสายอากาศจะทำหน้าที่แพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ผ่านการแปลงจากกระแสไฟฟ้ามาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งออกไปยังเครื่องรับสัญญาณวิทยุปลายทาง
คลื่นวิทยุ
คลื่นวิทยุ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ค้นพบโดยเจมส์แมกซ์เวลล์ (James c. Maxwell) เมื่อราวปี ค.ศ.1864 ต่อมา ไฮริชเฮิรตซ์ (Heinrich Hertz) ทดลองพิสูจน์ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ใช้ได้จริง ในปี ค.ศ.1887 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความเร็ว 300,000,000 เมตร/วินาที หรือเท่ากับความเร็วแสง
คลื่นวิทยุเกิดจากการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในสายอากาศ แล้วแผ่กระจายไปในอากาศ (ลักษณะเดียวกับคลื่นในน้ำ) เป็นลูกคลื่น มียอดคลื่นและท้องคลื่น การเคลื่อนตัวหนึ่งรอบคลื่น หมายถึง จากผิวน้ำ-ขึ้นไปสู่ยอดคลื่น-ตกลงที่ท้องคลื่น-และกลับขึ้นมาเสมอผิวน้ำ ความถี่ของคลื่นวิทยุมีหน่วยต่อวินาที (CPS : Cycle Per Second) เพื่อให้เกียรติแด่ผู้ค้นพบจึงเรียก "หน่วยต่อวินาที" ว่า "เฮิรตซ์" (Hz)
การใช้และบำรุงรักษาเครื่องวิทยุสื่อสาร การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดมือถือไม่ควรอยู่ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง ต้นไม้ใหญ่ สะพานเหล็ก หรือสิ่งกำบังอย่างอื่นที่มีผลต่ออุปสรรคในการใช้ความถี่วิทยุ ก่อนใช้เครื่องวิทยุคมนาคมควรตรวจดูว่าสายอากาศ หรือสายนำสัญญาณต่อเข้ากับขั้วสายอากาศเรียบร้อยหรือไม่และขณะส่งออกอากาศไม่ควรเพิ่มหรือลดกำลังส่ง (HI–LOW) ในการส่งข้อความ หรือพูดแต่ละครั้งอย่ากดสวิทซ์ (PTT) ไม่ควรส่งนานเกินไป (เกินกว่า 30 วินาที)
ประวัติกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
ดูเพิ่มเติมที่: วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 มีการก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Radio Amateur Society of Thailand (RAST)
นับจากก่อตั้งมา ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปมากขึ้นเป็นลำดับ [2]
โดยที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ "เพื่อเป็นสมาคมของนักวิทยุสมัครเล่นที่มิใช่เพื่อการค้า แต่รวมกันเพื่อส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับการทดลองวิทยุเพื่อความก้าวหน้าทางศิลปการวิทยุ และผดุงไว้ซึ่งชื่อเสียงของนักวิทยุสมัครเล่น ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง"
ต่อมามีการจัดตั้ง "ชมรมวิทยุอาสาสมัคร" ในปี พ.ศ. 2524 ขึ้น โดย พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น และได้มีการจัดให้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานเป็น "VR" โดยเริ่มจาก VR001 ไปเรื่อยๆ ผู้ที่สอบได้จะเรียกตัวเองว่า นักวิทยุอาสาสมัคร
"กิจการวิทยุสมัครเล่น" ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริงเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 จากการประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 นับได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อสื่อสารแบบ "นักวิทยุสมัครเล่น" อย่างแท้จริงขึ้นในประเทศไทย
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง "สัญญาณเรียกขานนักวิทยุอาสาสมัคร" เป็น "สัญญาณเรียกขานนักวิทยุสัมคเล่น" จาก VR ... เป็น HS ... ให้เป็นไปตามสากลกำหนด ซึ่ง ITU กำหนดให้ประเทศไทยใช้ " HS " โดยมีนายศรศิลป์ คล่องแคล่ว ซึ่งขณะนั้นก็ได้เป็นนักวิทยุอาสาสมัคร เป็นผู้ออกแบบ วางแผนในการจัดสรรระบบสัญญาณเรียกขานให้แก่นักวิทยุอาสาสมัครในสมัยนั้น ประมาณ 3 พันกว่าคน กระจายอยู่ทั่วประเทศ พร้อมได้แบ่งเขตสถานีควบคุมข่ายทั่วประเทศเป็น 10 โซน และกำหนดสัญญาณเรียกขานให้สถานีควบคุมข่ายแต่ละโซน เป็น HS1 ... / HS2 ... / HS3 ... / HS4 ... / HS5 ... / HS6 ... / HS7 ... / HS8 ... / HS9 ... เช่น นายศรศิลป์ฯ เดิมใช้สัญญาณเรียกขาน VR728 ต่อมาได้เทียบสัญญาณเรียกขานให้เป็นสากลตามลำดับเลขรหัส VR เป็น HS1YI อ่านว่า "โฮเตล เชียร์ล่า วัน วาย ไอ หรือ โฮเตล เชียร์ล่า วัน แยงกี้ อินเดีย) ซึ่งสากลจะเป็นสัญญาณเรียกขานที่ใช้ติดตัวจนตาย (นิจนิรันดร์) แต่ถูกคนรุ่นใหม่ที่ทำหน้าที่สืบต่อมาในยุค กสทช. ยกเลิกไม่ให้ใช้ ข้อเท็จจริงควรสงวนไว้ให้เป็นเกีรยติประวัติแก่คนที่มีส่วนในการiพัฒนาในกิจการวิทยุสมัครเล่นสืบไป โอกาสต่อมาได้มีส่วนร่วมคัดสรรและเป็นคนลงทะเบียนสัญญาณเรียกนักวิทยุสมัครเล่น HS1A ถวายแด่ VR009 ต่อผู้บริหาร อันประกอบด้วยนายมนัส ทรงแสง หัวหน้าฝ่ายช่าง นายไกรสร พรสุธี ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารความถี่วิทยุ และอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ตามลำดับ ิเพื่อถวายเป็นพระเกีรยติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และได้มีการออกใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น เป็นครั้งแรกในปี 2531 ตั้งแต่มีการตรา พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 โดยมีนายศรศิลป์ คล่องแคล่ว เป็นผู้ออกแบบใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ซึ่งกำหนดให้มีขนาดเล็กเท่ากับบัตร ATM และมีรหัสลับแต่ใช้วัสดุเป็นกระดาษ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา ซึ่งต้องสนองนโยบายแบบเร่งรัด และไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ เสนอขอความเห็นชอบผ่านนายไกสร พรสุธี ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารความถี่วิทยุ (ตำแหน่งราชการก่อนเกษียณ ปลัดกระทรวงคมนาคม และปลัดกระทรวง ICT รองเลขาธิการ APT) เสนออธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้รับการอนุมัติ และใช้ต่อสืบมาถึงปัจจุบัน และมีการพัฒนาเป็นบัตรสมาร์ทการ์ด
ความเป็นนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยและการจัดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมสมัครเล่น
ความเป็นนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทย มีวิธีการที่จะเป็นได้ 2 ทาง คือ
- ผ่านการทดสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ที่จัดโดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นประจำจังหวัด
- ผ่านการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ที่จัดโดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นประจำจังหวัด
ซึ่งองค์ความรู้ที่จะใช้ทดสอบสามารถที่จะเรียนรู้ได้จากสมาคมดังกล่าวนั่นเอง
การจัดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม หลังจากที่ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นแล้ว นักวิทยุก็มีสิทธิที่จะขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุได้ในเบื้องต้น 3 รูปแบบ คือ
- สถานีวิทยุสมัครเล่นแบบมือถือ(Handheld)
- สถานีวิทยุสมัครเล่นแบบเคลื่อนที่(Mobile)
- สถานีวิทยุสมัครเล่นแบบประจำที่(Home)
ซึ่งสถานีทั้ง 3 รูปแบบต้องขออนุญาตจาก กสทช. เพื่อรับสัญญาณเรียกขานCallsign มาใช้ในการติดต่อสื่อสาร โดยแบ่งแยก เป็น
- ใบอนุญาต มี ใช้ ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม ใช้สำหรับการขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุแบบมือถือ หรือแบบติดรถยนต์/ประจำที่ หรือแบบประจำที่ (ไม่รวมการตั้งเสาอากาศในที่พักอาศัยหรือยานพาหนะ)
- ใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุสื่อสาร ใช้สำหรับการขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุแบบเคลื่อนที่และประจำที่ ที่มีการอ้างอิงสถานที่ตั้งหรือยานพาหนะที่จะติดตั้งสถานี
กิจกรรมต่างๆ ของนักวิทยุสมัครเล่น
นักวิทยุสมัครเล่นติดต่อสื่อสารกันในหลายรูปแบบ โดยทั่วไปนิยมติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงพูด ซึ่งถ้าใช้การผสมคลื่นความถี่แบบ FM-Frequency Modulation จะได้คุณภาพของเสียงที่ดีมาก แต่หากต้องการติดต่อสื่อสารเป็นระยะทางไกลๆ โดยใช้แถบความถี่น้อยหรือมีแถบความถี่ค่อนข้างจำกัดก็จะใช้การผสมคลื่นแบบ Single Sideband (SSB) ได้ การติดต่อสื่อสารด้วยรหัสมอร์ส (Morse's code) ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านความถี่สูง (HF-High Frequency) ซึ่งจากการทดลองก็พบว่าเป็นการติดต่อสื่อสารที่ดีมากหากเทียบอัตราส่วนระหว่างสัญญาณรบกวนและสัญญาณข้อมูล[ต้องการอ้างอิง]
การติดต่อด้วยรหัสมอร์สนั้นเป็นส่วนช่วยให้นักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่คนละประเทศ พูดคนละภาษา แต่สามารถใช้รหัสมอร์สพูดคุยหรือสื่อสารกันได้ด้วยรูปแบบที่เป็นสากล และที่สำคัญเครื่องรับ-ส่ง CW นั้นสามารถสร้างได้ง่ายอีกด้วย สำหรับการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันที่ทันสมัยของนักวิทยุสมัคเล่นโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนเสริมให้การติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอลได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเป็นสมัยก่อนจะต้องใช้เครื่องมือมากมายในการติดต่อสื่อสารที่เป็นดิจิตอล ที่ผ่านมานักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ริเริ่มนำระบบ Packet Radio เข้ามาใช้งาน ซึ่งต่อมาได้มีหลายๆ องค์กรนำไปพัฒนาและใช้งานให้เกิดประโยชน์มากมาย อีกทั้งนักวิทยุสมัครเล่นยังได้พัฒนาการติดต่อสื่อสารดิจิตอลอีกหลายรูปแบบ เช่น PSK31 ที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารแบบทันทีและใช้กำลังส่งที่น้อยในความถี่คลื่นสั้น (HF) WSJT ซึ่งนิยมใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารที่สัญญาณอ่อนมากๆ โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ การติดต่อสื่อสารด้วยภาพคล้ายการส่งสัญญาณโทรทัศน์นักวิทยุสมัครเล่นก็สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้งานได้เช่นกัน[3]
การจับกลุ่มคุยกัน
นักวิทยุสมัครเล่นจำนวนไม่น้อยชอบที่จะพูดคุยกับนักวิทยุสมัครเล่นคนอื่น ๆ บนความถี่วิทยุเป็นประจำ โดยการคุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน เรียกการจับกลุ่มคุยแบบนี้ว่า "Rag Chew" การคุยกันแบบนี้นับได้ว่ามีมาตั้งแต่เริ่มแรกของวิทยุสมัครเล่นเลยก็ว่าได้[ต้องการอ้างอิง]
เรื่องที่พูดคุยกันนั้นก็เป็นเรื่องทั่วๆ ไป หรือเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น เช่น ความรู้สายอากาศ การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
นอกจากนี้ อีกกลุ่มหนึ่งที่มีการรวมตัวกันทำกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น คือ กลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่า "ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น" ประจำสถาบันต่างๆ
บัตรยืนยันการติดต่อ
อ่านเพิ่มเติมหัวข้อ : บัตรยืนยันการติดต่อ
โดยทั่วไปนักวิทยุสมัครเล่นมักนิยมแลกเปลี่ยนบัตรยืนยันการติดต่อ หรือ QSL card ระหว่างกัน เพื่อที่จดบันทึกการติดต่อสื่อสารครั้งนั้นไว้ ซึ่งรางวัลต่าง ๆ ในกิจการวิทยุสมัครเล่น หลายรางวัลจำเป็นต้องใช้บัตรยืนยันการติดต่อนี้เพื่อรับรางวัล นักวิทยุสมัครเล่นบางคนก็นิยมเก็บสะสม เพราะมีความสวยงาม นอกจากการยืนยันโดยบัตรยืนยันการติดต่อแล้ว ปัจจุบันมีการยืนยันแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Logbook of the World (LoTW) จัดทำโดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นอเมริกา (ARRL) การยืนยันแบบนี้สามารถแลกรางวัล (ที่จัดโดยสมาคม) ได้เช่นกัน
การติดต่อทางไกล (DX)นักวิทยุสมัครเล่นหลายคนก็นิยมติดต่อกับสถานีที่อยู่ไกลออกไปจากที่อยู่ของตนเอง เช่น ติดต่อกันผ่านความถี่ย่าน HF ซึ่งสามารถติดต่อระหว่างประเทศ ระหว่างทวีปได้ทั่วโลก หรือแม้กระทั่งพยายามใช้ความถี่ย่าน VHF สามารถติดต่อได้ไกลๆ โดยเทคนิคด้านการสื่อสารแบบต่าง เช่น การติดต่อสื่อสารโดยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวพื้นดวงจันทร์ การติดต่อแบบสะท้อนฝนดาวตก เป็นต้น
การเดินทางไปติดต่อตามสถานที่ต่างๆ (DX-peditions)[แก้]
มีหลายประเทศหรือหลายสถานที่ ที่มีนักวิทยุสมัครเล่นอยู่น้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งเป็นที่ต้องการของนักวิทยุสมัครเล่นจากส่วนต่างๆ ของโลกที่ต้องการติดต่อกับสถานีวิทยุสมัครเล่นในสถานที่เหล่านี้ ซึ่งอาจมีการวมตัวกันเดินทางไปตั้งสถานีชั่วคราว เพื่อทำการติดต่อออกมาจากสถานที่เหล่านี้ ซึ่งการเดินทางไปเช่นนี้เรียกว่า DX-peditions ซึ่งถ้าเป็นการเดินทางไปยังสถานที่ที่ยากลำบากหรือมีความต้องการติดต่อกับสถานที่นั้นมาก จะสามารถติดต่อได้เป็นแสนสถานีจากทั่วทุกประเทศ ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์
รางวัล
มีรางวัลสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่สามารถติดต่อ (มักนิยมเรียกว่า "Work") กับสถานีวิทยุสมัครเล่นในส่วนต่างๆ ของโลก มากมายหลายรางวัล รางวัลที่เป็นที่นิยมได้แก่ รางวัล DX Century Club (DXCC) คือรางวัลที่ให้กับผู้ที่สามารถติดต่อและยืนยันด้วยบัตรยืนยันการติดต่อได้ 100 ประเทศขึ้นไป จากทั้งหมด 335 ประเทศ ซึ่งเป็นรางวัลที่นิยมมากที่สุด ถ้าใครได้รับรางวัลนี้ก็เป็นการพิสูจน์ว่าเป็นผู้มีทักษะและความพยายาม ในการใช้ความสามารถในการติดต่อได้หลายประเทศ นอกจากนี้ยังมี รางวัล Work All States สำหรับผู้ที่สามารถติดต่อครบทุกรัฐของสหรัฐอเมริกา รางวัล Work All Continents ให้กับผู้ที่สามารถติดต่อได้ครบ 6 ทวีปของโลก รางวัล Work All Zones มอบให้ผู้ที่ติดต่อได้ครบ Zone[4]
การแข่งขัน
การแข่งขัน หรือ Contesting หรือ Radiosport คือ กิจกรรมการแข่งขันของนักวิทยุสมัครเล่นที่จัดและดำเนินการโดยนักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งในการแข่งขันนั้น สถานีวิทยุสมัครเล่น อาจออกอากาศด้วยนักวิทยุสมัครเล่นเพียงคนเดียวหรือรวมกลุ่มกัน เพื่อจะพยายามติดต่อสถานีวิทยุสมัครเล่นอื่นๆ ให้ได้มากที่สุดภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยในการติดต่อกันนั้นจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วย ซึ่งกติกาการแข่งขันนั้นก็จะกำหนดความถี่ที่ใช้ในการติดต่อและข้อมูลที่ต้องแลกเปลี่ยนกันในแต่ละครั้ง ซึ่งการติดต่อแต่ละสถานีจะถูกคำนวณออกมาเป็นคะแนน ซึ่งจะนำมาจัดลำดับหลังจากจบการแข่งขัน การแข่งขันแต่ละรายการจะมีผู้สนับสนุนและกติกาแตกต่างกันออกไป ส่วนมากผลการแข่งขันจะประกาศในนิตยสารวิทยุสมัครเล่นที่เป็นที่รู้จักหรือตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยุสมัครเล่น นับวันจะมีจำนวนการแข่งขันเพิ่มขึ้น รวมทั้งนักวิทยุสมัครเล่นที่เข้าร่วมแข่งขันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนักวิทยุสมัครเล่นหลายๆ คน มักเข้าร่วมแข่งขันเป็นประจำทุกรายการ เหมือนกับว่าเป็นกิจกรรมหลักของนักวิทยุสมัครเล่นนั้น ๆ ก็ว่าได้[5]
สถานีพิเศษ
ในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ มักจะมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานพิเศษ เพื่อใช้สำหรับการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งนักวิทยุหลายคนก็คอยจะติดต่อกับสถานีพิเศษเหล่านี้ เพื่อจะขอรับบัตรยืนยันการติดต่อไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งในบางโอกาสอาจมีการใช้ prefix พิเศษ เช่น HS2000 ซึ่งเป็นสถานีรายงานการปรับเปลี่ยนปี ค.ศ. ใหม่ HS50A สัญญาณเรียกขานพิเศษสำหรับเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
การตั้งสถานีติดต่อชั่วคราว (Portable)
นักวิทยุสมัครเล่นมักจะนำอุปกรณ์วิทยุสื่อสารของตนเองติดตัวไปด้วยเวลาไปเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง และจะออกอากาศหรือทำการติดต่อจากสถานที่เหล่านั้น (ต้องได้รับอนุญาตสำหรับการออกอากาศในสถานที่นอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต) ด้วยกำลังส่งต่ำ และสายอากาศที่สามารถติดตั้งได้ง่าย ซึ่งก็มีบ่อยครั้งที่ตั้งใจเดินทางไปยังสถานที่ที่ห่างไกลและไม่มีนักวิทยุสมัครเล่นไปออกอากาศ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิทยุสมัครเล่นจากที่ต่าง ๆ ได้ติดต่อเข้ามาเพื่อแลกบัตรยืนยันการติดต่อ แม้กระทั่ง นักวิทยุที่ชอบเดินทางด้วยเรือหรือเครื่องบินก็สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารติดต่อกับนักวิทยุสมัครเล่นอื่น ๆ ได้เช่นกัน
การติดต่อด้วยกำลังส่งต่ำ (QRP)
มีนักวิทยุสมัครเล่นบางคนที่ชอบสร้างเครื่องวิทยุ รับ-ส่ง ด้วยตนเอง แบบง่าย ๆ ด้วยงบประมาณที่ไม่สูงมาก และเครื่องวิทยุ รับ - ส่ง เหล่านี้มักจะมีกำลังส่งที่ต่ำ หรือที่เรียกกันว่า QRP ซึ่งย่อมาจาก Q code ที่มีความหมายว่า "ลดกำลังส่ง" การออกอากาศด้วย QRP ใช้กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ สำหรับการติดต่อแบบ รหัสมอร์ส และไม่เกิน 10 วัตต์สำหรับการติดต่อแบบ เสียงพูด
วิทยุสมัครเล่นกับอวกาศ
ที่ผ่านมานักวิทยุสมัครเล่นได้ส่งดาวเทียมสำหรับการติดต่อสื่อสารหรือการทดลองของนักวิทยุสมัครเล่นมากกว่า 70 ดวงแล้ว ในโครงการที่ชื่อว่า Orbiting Satellite Carrying Amateur Radio หรือ OSCAR ซึ่งบางดวงก็สามารถใช้งานด้วยการใช้เครื่องวิทยุรับ-ส่งชนิดมือถือ และสายอากาศชนิดติดกับตัวเครื่อง หรือ "rubber duck" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AO-51 หรือ AMSAT Echo นักวิทยุสมัครเล่นยังสามารถใช้ "ดาวเทียมธรรมชาติ" ได้แก่ ดวงจันทร์ และ ดาวตก สำหรับการสะท้อนคลื่นเพื่อการติดต่อสื่อสาร นักวิทยุสมัครเล่นยังสามารถติดต่อสื่อสารกับสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station หรือ ISS) ซึ่งนักบินอวกาศเกือบทุกคนที่ประจำอยู่จะได้รับใบอนุญาตการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นเช่นกัน [6]โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงการให้นักเรียนได้ติดต่อพูดคุยกับนักบินอวกาศผ่านความถี่วิทยุสมัครเล่น อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นความถี่สำรองสำหรับสถานีอวกาศนานาชาติอีกด้วย
ระบบรายงานพิกัดอัตโนมัติผ่านวิทยุสมัครเล่น
นักวิทยุสมัครเล่น ได้ชื่อว่าเป็นนักค้นคว้าและทดลอง จนได้มีการพัฒนาระบบรายงานพิกัดอัตโนมัติผ่านวิทยุสมัครเล่น (Automatic Packet Reporting System (APRS)) ขึ้น โดยเป็นการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ระบุพิกัดสัญญาณดาวเทียม GPSและทำการส่งพิกัดที่อยู่หรือที่ตั้งสถานีของนักวิทยุสมัครเล่น ยานพาหนะ ทั้งรถยนต์ เรือ หรือเครื่องบิน ผ่านเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น โดยมีสถานีรับสัญญาณที่เป็นสถานีที่นักวิทยุสมัครเล่นจัดตั้งขึ้นและกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศรับสัญญาณและส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และสามารถเรียนดูพิกัดดังกล่าวได้ทั่วโลก
ข้อห้ามสำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น
- ติดต่อกับสถานีวิทยุสมัครเล่นที่ไม่อนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศนั้น
- ใช้รหัสลับในการติดต่อสื่อสาร
- รับ - ส่งข่าวสารนอกเหนือไปจากกิจการวิทยุสมัครเล่น
- จ้างวาน รับ - ส่งข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม
- ใช้ถ้อยคำหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร
- รับ - ส่ง ข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดกฎหมายบ้านเมือง
- ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง หรือรายการโฆษณาทุกประเภท
- การกระทำให้เกิดการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีอื่นโดยเจตนา เช่น การส่งสัญญาณคลื่นรบกวนประเภทต่าง ๆ ใช้ช่องสัญญาณติดต่อสื่อสารทับซ้อนกัน
- ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคม ที่ไม่ได้รับอนุญาต
- ใช้สัญญาณเรียกขานปลอม หรือแอบอ้างใช้สัญญาณเรียกขานผู้อื่น
- แย่งใช้ช่องสัญญาณในการติดต่อสื่อสาร หรือใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดครอบครองเฉพาะกลุ่มบุคคล
- ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีวิทยุคมนาคมหรือเครื่องวิทยุคมนาคมกระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคม หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ไม่บันทึกการติดต่อสื่อสารในสมุดบันทึก (Log Book)
การใช้งานในกิจการสื่อสารต่างๆด้วยระบบสัญญาณวิทยุ ได้รับการยอมรับแพร่หลายมากขึ้นเป็นลำดับพร้อมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งข่าวสารด้วยการเข้ารหัสโทรเลข การส่งสัญญาณเสียงพูดผสมเข้ากับคลื่นวิทยุ พาหะด้วยวิธีการเอเอ็ม (Amplitude Modulation: AM) และ
เอฟเอ็ม (Frequency Modulation:FM) เป็นต้น จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้เริ่มมีการนำสัญญาณวิทยุมาประยุกต์ใช้กับระบบวิทยุโทรศัพท์ เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ในกิจการของตำรวจที่เมืองดีทรอยด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา [๑], [๒]
วิทยุโทรศัพท์หรือที่รู้จักในชื่อของ “Land mobile radio telephone” เป็นระบบวิทยุโทรศัพท์ ที่เครื่องโทรศัพท์สามารถใช้งานได้ในขณะเคลื่อนที่ไปภายใต้ขอบเขตที่สัญญาณวิทยุจากสถานีฐานสามารถส่งไปครอบคลุมถึง และเครื่องวิทยุโทรศัพท์สามารถส่งสัญญาณวิทยุ กลับมาถึงสถานีฐานได้เท่านั้น ดังแสดงในรูปที่ ๓.๑
เอฟเอ็ม (Frequency Modulation:FM) เป็นต้น จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้เริ่มมีการนำสัญญาณวิทยุมาประยุกต์ใช้กับระบบวิทยุโทรศัพท์ เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ในกิจการของตำรวจที่เมืองดีทรอยด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา [๑], [๒]
วิทยุโทรศัพท์หรือที่รู้จักในชื่อของ “Land mobile radio telephone” เป็นระบบวิทยุโทรศัพท์ ที่เครื่องโทรศัพท์สามารถใช้งานได้ในขณะเคลื่อนที่ไปภายใต้ขอบเขตที่สัญญาณวิทยุจากสถานีฐานสามารถส่งไปครอบคลุมถึง และเครื่องวิทยุโทรศัพท์สามารถส่งสัญญาณวิทยุ กลับมาถึงสถานีฐานได้เท่านั้น ดังแสดงในรูปที่ ๓.๑
การควบคุมการติดต่อถูกควบคุม โดยส่วนควบคุมกลาง เพื่อให้เครื่องวิทยุโทรศัพท์แต่ละเครื่อง ในพื้นที่บริการ สามารถใช้งานช่องวิทยุ ได้โดยไม่รบกวนซึ่งกันและกัน โดยที่แต่ละเครื่องสามารถใช้งาน ได้พร้อมกันคนละช่องความถี่ เปรียบเสมือนการแยกการใช้งานของช่องสัญญาณวิทยุ ของแต่ละสถานีวิทยุกระจายเสียง
ตัวอย่างวิทยุโทรศัพท์ในยุคเริ่มต้น เช่น ไอเอ็มทีเอส (Improved Mobile Telephone Service: IMTS) ซึ่งถูกนำมาใช้งานที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีจำนวนช่องสัญญาณ ๒๓ ช่องสัญญาณ และให้บริการต่อมาจนกระทั้งระบบวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้รับความนิยมแทน [๓]
๓.๒ วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ [๔] [๕]
ข้อจำกัดของวิทยุโทรศัพท์ คือ การที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ ออกไปใช้บริการไกลเกินกว่าพื้นที่ให้บริการจากสถานีฐานได้ ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาขีดความสามารถของวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นมาอีกระดับหนึ่งคือโดยการวางสถานีฐานให้กระจายออกไปครอบคลุมในทุกพื้นที่ โดยสถานีฐานเหล่านี้จะถูกควบคุมโดยตรงจากสถานีควบคุมกลาง ดังแสดงในรูปที่ ๓.๒ และเรียกระบบนี้ว่าระบบวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular mobile telephone)
การวางตัวของสถานีฐานเพื่อให้บริการกระจายตัวออกไป ทำให้พื้นที่บริการเชื่อมต่อกันมีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง (Cellular) ซึ่งอาจเรียกระบบนี้ว่า ระบบโทรศัพท์รวงผึ้งหรือ วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่
ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกนำมาใช้ในกิจการเชิงพาณิชย์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ โดยบริษัทเอทีแอนด์ที (AT&T) ที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่รู้จักในชื่อระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แอมป์ (Advanced Mobile Phone System: AMPS 800) ใช้งานในย่านความถี่ ๘๐๐ เมกกะเฮิรตซ์ (MHz) และในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้มีการนำระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เอ็นเอ็มที (Nordic Mobile Telephone: NMT 450) มาใช้ในงานเชิงพาณิชย์ ซึ่งประเทศที่นำมาใช้คือกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียประกอบด้วย ประเทศนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์กและฟินแลนด์ โดยใช้งานในย่านความถี่ ๔๕๐ เมกกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งแต่ละกลุ่มสมาชิก แต่ละมาตรฐาน ได้มีการพัฒนาระบบกันอย่างต่อเนื่อง และใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้ระบบสามารถให้บริการตอบสนองความต้องการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งมีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากภายใต้กรอบของทรัพยากรความถี่วิทยุที่มีอยู่อย่างจำกัด
โดยกลุ่มของวิทยุโทรศัพท์เมื่อแบ่งตามรูปแบบประเภทและลักษณะของการให้บริการสามารถแบ่งออกเป็น ๕ กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Service) โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล (Personal Communication Network: PCN) โทรศัพท์ไร้สาย (Cordless) ทรังก์โมบาย (Trunk mobile) และโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม (Satellite) ดังรูปที่ ๓.๓ ซึ่งมีการแสดงการวางตำแหน่งของกลุ่มบริการ โดยที่แกนนอนด้านซ้ายคือ กลุ่มผู้ซื้อส่วนใหญ่ (Mass market) หมายถึงอุปกรณ์ที่ผลิตเป็นจำนวนมาก ราคาถูก และด้านขวาคือ กลุ่มที่มีการใช้งานเชิงธุรกิจ (Business) หมายถึง อุปกรณ์ใช้เฉพาะกลุ่ม เช่นกลุ่มธุรกิจ ส่วนแนวแกนตั้ง แสดงถึงลักษณะการใช้งานหรือพื้นที่บริการถ้าอยู่ในตำแหน่งทางด้านล่าง กลุ่มที่มีการใช้งานเชิงอยู่กับที่ (On site) หมายถึงการบริการในพื้นที่จำกัด เช่นใช้ภายในบ้าน สำนักงาน แต่ถ้าเคลื่อนไปทางด้านบนแทนกลุ่มที่มีการใช้งานเชิงเคลื่อนที่ (Off site) การใช้งานได้ครอบคลุมกว้าง เช่น ทั่วโลก เป็นต้น
กลุ่มบริการประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular services)เป็นกลุ่มบริการที่มีการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานเดิมโดยที่ เครื่องโทรศัพท์สามารถเคลื่อนที่ใช้งานไปได้ทุกที่ที่มีสถานีฐานติดตั้งให้บริการครอบคลุมถึง
การให้บริการในแต่ละสถานีฐานมีรัศมีครอบคลุมหลายกิโลเมตร เพียงพอสำหรับการใช้งานภายในรถยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้สามารถได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ากำลังจะเคลื่อนที่ผ่านจากพื้นที่บริการสถานีฐานหนึ่งไปอีกสถานีฐานหนึ่ง ตัวอย่างระบบมาตรฐานที่มีใช้งาน เช่น แอมป์ (Advanced Mobile Phone System: AMPS) เอ็นเอ็มที (Nordic Mobile Telephone: NMT) จีเอสเอ็ม (Global System for Mobile communications: GSM) และ แทคส์ (Total Access Communication System: TACS) เป็นต้น
กลุ่มบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล (PCN services) คือ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาจนสามารถติดต่อสื่อสารใช้งานเสมือนเป็นของบุคคล สะดวกต่อการพกพาติดตัวไปได้ทุกที่ ตัวอย่างของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถทำเป็นพีซีเอ็น (PCN) ได้ เช่น จีเอสเอ็ม และดีซีเอส (Data Communication System: DCS) เป็นต้น โดยการปรับเพิ่มความจุของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เดิมให้สามารถพร้อมให้บริการในเขตพื้นที่ที่มีเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้งานอย่างหนาแน่น เช่น ใจกลางเมืองหลวง ย่านธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า โดยการลดขนาดพื้นที่ให้บริการของแต่ละสถานีฐานเหลือเพียงไม่กี่ร้อยเมตร ขณะที่ความจุในการให้บริการของแต่ละสถานีฐานเท่าเดิมหรือมากกว่า และขยับสถานีฐานให้มาอยู่ใกล้กันมากขึ้น ซึ่งในภาพรวมจะทำให้ความจุของการให้บริการรวมในพื้นที่นั้นสูงขึ้น แต่ผลกระทบจะทำให้การใช้งาน ขณะที่เครื่องโทรศัพท์มีการเคลื่อนที่ ด้วยความเร็วมากกว่า ๑๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาจไม่สามารถให้บริการอย่างต่อเนื่องได้
โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนบุคคลคือการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง โดยมีรูปแบบการใช้งานในลักษณะเดียวกัน ทั้งยังมีการใช้งานได้ในทุกที่ทั่วโลกที่มีระบบเดียวกันให้บริการและ จากการที่มีผู้ใช้งานมาก ทำให้ต้นทุนต่อเครื่องต่ำลงได้
กลุ่มบริการประเภทวิทยุโทรศัพท์ไร้สาย (Cordless service) เป็นระบบที่มีสภาพการใช้งานที่เครื่องโทรศัพท์สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ไกลจากสถานีฐานมากนัก โดยปกติจะใช้งานอยู่ในช่วง ๕๐ ถึง ๑๐๐ เมตร หรือมากกว่าเล็กน้อย ด้วยเทคโนโลยีของโทรศัพท์ไร้สายได้ถูกนำมาพัฒนาและสามารถแบ่งกลุ่มประเภทบริการย่อยออกเป็นสามกลุ่มย่อยคือ กลุ่มใช้งานเฉพาะจุดหรือโทรศัพท์พกพา (Telepoint services) กลุ่มใช้งานในที่พักอาศัย (Residential Cordless) และกลุ่มใช้งานในสำนักงาน (Cordless PABX: Private Automatic Branch Exchange)
ตัวอย่างประเภทการใช้งานเฉพาะจุด เช่นการให้บริการโทรศัพท์พกพา (Telepoint) ตัวอย่างบริการชื่อ โฟนพอยท์ (Phone point) ซึ่งเคยให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครในอดีต ผู้ใช้บริการต้องนำเครื่องไปใช้งานใกล้กับสถานีฐานที่ให้บริการ เสมือนเป็นเจ้าของโทรศัพท์สาธารณะส่วนบุคคล
บริการโฟนพอยต์ถึงแม้จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแบบ ซีที๒ (Cordless Telephone type 2: CT2) แต่ก็ประสบปัญหาขาดทุนและเลิกกิจการไป เนื่องจากมีการตลาดแข่งขันอย่างหนักและต้องแข่งขันในด้านคุณภาพอย่างมากกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะนั้น
อีกหนึ่งตัวอย่าง ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์พกพา คือ พีซีที (PCT) ซึ่งเป็นระบบตามมาตรฐานพีเอชเอส (Personal Handy-phone System: PHS) ของประเทศญี่ปุ่น โดยการผูกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านเข้ากับหมายเลขเครื่องพีซีที และเพิ่มรูปแบบการใช้งานต่างๆ เช่นสามารถส่งภาพคู่สนทนาผ่านในเครื่องบางรุ่น รองรับการติดต่อสื่อสารด้วยความเร็วสูง เป็นต้น
โทรศัพท์ไร้สายสำหรับบ้านพักอาศัย (Resident cordless) คือโทรศัพท์ไร้สายที่ใช้กันแพร่หลายในบ้านพักอาศัย มีหลายมาตรฐาน เช่น ซีที๐ ซีที๑ ซีที๒ ซีที๓ และ เด็ค (CT0, CT1, CT2, CT3, and Digital Enhanced Cordless Telecommunications: DECT) เป็นต้น
โทรศัพท์ตู้สาขาอัตโนมัติแบบไร้สายหรือ พีเอบีเอกซ์ (Cordless PABX) เป็นการประยุกต์ใช้ระบบโทรศัพท์ไร้สายตามอาคารสำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม มีมาตรฐานให้เลือกใช้งานเช่น ซีที๒ และ เด็ค เป็นต้น
ประเภทบริการวิทยุโทรศัพท์เฉพาะกลุ่ม (Trunk mobile service) หรือในชื่ออื่นๆ เช่น พีเอ็มอาร์ (Private Mobile Radio: PMR) หรือ พีเอเอ็มอาร์ (Public Access Mobile Radio: PAMR) มีจุดเด่นของระบบคือ ความสามารถเรียกติดต่อกันภายในกลุ่มเช่น กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ กลุ่มประกันภัย กลุ่มบริการรถขนส่งสินค้า หรือกลุ่มอื่น ๆที่มีพนักงานกระจายอยู่นอกสถานที่ทำงานเป็นวงกว้างและต้องการติดต่อถึงกันเป็นประจำ
วิทยุโทรศัพท์เฉพาะกลุ่มใช้ได้ทั้งการติดต่อสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูล และพบใช้มากในประเทศกลุ่มยุโรป รวมถึงประเทศสหรัสอเมริกาที่นำไปใช้งานโดยใช้เฉพาะการติดต่อสื่อสารข้อมูลเป็นหลัก สำหรับในประเทศไทยมีบริการตัวอย่างเช่น บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้ชื่อ ซีบีอาร์ (Common Base Radio Telephone: CBR) ซึ่งการติดต่อถึงกันจะกระทำผ่าน dispatcher หรือสถานีควบคุมทวนสัญญาณกลาง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานและทำตัวเป็นสื่อทวนสัญญาณ (repeater) เพื่อทำให้เครื่องลูกข่ายในกลุ่มสามารถติดต่อถึงกันได้ไกลมากขึ้น ดังแสดงในรูปที่ ๓.๔
ด้วยเทคโนโลยี ของวิทยุโทรศัพท์เฉพาะกลุ่มนี้ อาจประยุกต์ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เช่นกัน เพียงแต่เป็นข้อกำหนด เพื่อให้สามารถแยกกลุ่ม
ประเภทบริการให้เกิดความแตกต่างที่ชัดเจน จึงแยกประเภทเป็นระบบวิทยุโทรศัพท์เฉพาะกลุ่ม
ประเภทบริการให้เกิดความแตกต่างที่ชัดเจน จึงแยกประเภทเป็นระบบวิทยุโทรศัพท์เฉพาะกลุ่ม
กลุ่มบริการวิทยุโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม (Satellite service) เกิดขึ้นเพื่อจับกลุ่มธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้บริการการติดต่อสื่อสารได้ทุกที่ทั่วโลก แม้แต่ในพื้นที่ที่การติดต่อสื่อสารด้วยระบบปกติอื่น ๆ ไม่สามารถให้บริการถึงอาทิ กลางทะเลทราย หรือกลางมหาสมุทร โครงการ ที่จะให้บริการประเภทนี้
จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูงด้วย ตัวอย่างโครงการเช่น โครงการ อินมาร์แซท (Inmarsat) โครงการอิริเดียม (Iridium) และโครงการโกลบอลสตาร์ (Globalstar) เป็นต้น
จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูงด้วย ตัวอย่างโครงการเช่น โครงการ อินมาร์แซท (Inmarsat) โครงการอิริเดียม (Iridium) และโครงการโกลบอลสตาร์ (Globalstar) เป็นต้น
ผลจากการเจริญเติบโต ของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล จนสามารถนำติดตัวไปใช้งานได้ทุกที่ทั่วโลก ที่ใช้
มาตรฐานระบบเดียวกัน และทำการเชื่อมต่อถึงกัน ทำให้โครงการการให้บริการวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านดาวเทียมต้องประสบปัญหาอย่างมาก ดังเช่น โครงการอิริเดียมที่ต้องยุติการดำเนินการ
มาตรฐานระบบเดียวกัน และทำการเชื่อมต่อถึงกัน ทำให้โครงการการให้บริการวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านดาวเทียมต้องประสบปัญหาอย่างมาก ดังเช่น โครงการอิริเดียมที่ต้องยุติการดำเนินการ
๓.๓ ยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่
สำหรับการแบ่งกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาสามารถแบ่งตามหลักสากลออกเป็นสามยุคคือ๑จี (1G) (พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๓๔) ๒จี (2G) (พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๔๓) และ ๓จี (3G) (พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นไป)
สำหรับการแบ่งกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาสามารถแบ่งตามหลักสากลออกเป็นสามยุคคือ๑จี (1G) (พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๓๔) ๒จี (2G) (พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๔๓) และ ๓จี (3G) (พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นไป)
โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคแรก หรือ ๑จี (First Generation: 1G) เป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้เทคโนโลยีแบบอนาลอก (Analog) เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนน้อยใช้วิธีผสมผสานสัญญาณวิทยุพาหะแบบง่ายๆ เช่น วิธีการผสมสัญญาณแบบเอฟเอ็ม (FM modulation) และวิธีเอฟดีเอ็มเอ(Frequency Division Multiple Access: FDMA) ตัวอย่าง เช่น ระบบแอมป์ ระบบเอ็นเอ็มที เป็นต้น
ระบบส่วนใหญ่ในยุคต้น ๆของยุคนี้ถูกพัฒนาใช้งานในช่วงความถี่ ๔๕๐ เมกกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งเป็นระบบที่มีจำนวนช่องวงจรน้อย และความจุของระบบมีเพียง ๒๐,๐๐๐ ถึง ๓๐,๐๐๐ เครื่องโทรศัพท์ สามารถนำช่องความถี่ที่ใช้งานแล้วกลับมาใช้ใหม่ จากนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับทั้งการเพิ่มความจุของระบบ วิธีการนำความถี่ที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ในพื้นที่อื่น และประสิทธิภาพอื่น ๆเพิ่มขึ้น
โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สอง หรือ ๒จี (Second generation: 2G) เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่พัฒนามาจากยุค ๑จี ด้วยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่นการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล (Digital) อย่างสมบูรณ์ในทุกขั้นตอนของสัญญาณติดต่อ การใช้เทคนิคการเข้าถึงช่องสัญญาณแบบแบ่งช่องเวลาหรือทีดีเอ็มเอ (Time Division Multiple Access:TDMA)และการใช้เทคนิคการเข้าถึงช่องสัญญาณแบบใช้รหัสหรือซีดีเอ็มเอ (Code Division Multiple Access: CDMA) เป็นต้น
ตัวอย่างระบบในยุค 2G เช่น ระบบดีแอมป์ (Digital-AMPS: DAMPS) พัฒนามาจากระบบแอมป์ ระบบจีเอสเอ็มพัฒนามาจากระบบเอ็นเอ็มที และระบบที่เกิดขึ้นในยุค ๒จี อย่างเช่นระบบซีดีเอ็มเอวัน (cdmaOne) หรือ ไอเอส-๙๕ (Interim Standard 95: IS-95) เป็นต้น ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาโดยบริษัทควอลคอมม์ (Qualcomm) และได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกระบบของประเทศสหรัฐอเมริกา
ถึงแม้จะใช้เทคโนโลยีของดิจิทัลที่สมบูรณ์ทั้งระบบแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นการพัฒนาการให้บริการจากบริการพื้นฐานของยุค ๑จี โดยตรงทำให้ระบบโทรศัพท์ในยุค ๒จี ไม่สามารถรองรับการให้บริการแบบมัลติมีเดียที่ต้องการบริการรับส่งข้อมูลปริมาณมาก ๆและหลากหลายบริการพร้อม ๆ กันได้
ในระหว่างการโอนถ่ายจากยุค ๒จี มาเป็น ๓จี ผู้ให้บริการในระบบ ๒จี ต้องใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างมาก เพราะอาจจำเป็นต้องรื้อและปรับระบบใหม่ทั้งหมดและเพื่อช่วยลดต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงครั้งเดียวที่สูงมาก ดังนั้นจึงเกิดมาตรฐานระบบทางเลือกสำหรับผู้ให้บริการปรับจากยุค ๒จี มาเป็น ๒.๕จี หรือ ๒จีพลัส (Enhanced 2G: 2+G) ซึ่งในระบบ ๒จี เดิมจะสามารถรองรับการส่งข้อมูลด้วยความเร็วเพียง ๙.๖ กิโลบิตต่อวินาที (kbps) มาเป็น ๕๗.๖ กิโลบิตต่อวินาที (kbps) ด้วยวิธีการสื่อสารแบบ เอชเอสซีเอสดี (High Speed Circuit Switched Data : HSCSD) และสูงถึง ๑๗๑.๒ กิโลบิตต่อวินาที (kbps) ตามมาตรฐานจีพีอาร์เอส (General Packet Radio System: GPRS) สำหรับระบบจีเอสเอ็ม ส่วนผู้ให้บริการระบบดีแอมป์ก็สามารถปรับวิธีการให้บริการให้สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง ๑๑๕ กิโลบิตต่อวินาที (kbps) ตามมาตรฐานยูดับบลิวซี-๑๓๖ (Universal Wireless Communication: UWC-136) หรือมาตรฐาน เอ็จ (Enhanced Data rate for GSM Evolution: EDGE) ที่สามารถรองรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง ๓๘๔ กิโลบิตต่อวินาที (kbps)
โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ ๓จี (Third Generation: 3G) เป็นยุคของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ระบบใหม่ที่ออกแบบต้องสามารถรองรับบริการที่หลากหลายซึ่งไม่เคยให้บริการมาก่อนหรือไม่สามารถให้บริการได้ในยุค ๒จี
ตัวอย่างบริการที่หลากหลายเช่น การประชุมทางไกลผ่านสื่อวิดีโอ (Video Teleconferencing) อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet) และ ข้อมูลความเร็วสูง (High Rate Data) เป็นต้น สำหรับมาตรฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค ๓จี ที่สมบูรณ์จะสามารถรองรับบริการสื่อสารข้อมูลรวมความเร็วสูงถึง ๒ เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ตามมาตรฐานดับบิลซีดีเอ็มเอ (Wide Band – CDMA: WCDMA)
ตัวอย่างระบบในยุค ๓จี เช่น ยูทีอาร์เอ (UTRA) ตามมาตรฐานยุโรป ซีดีเอ็มเอ ๒๐๐๐ (cdma2000) ตามมาตรฐานอเมริกาและ เออาร์ไอบี (ARIB) ตามมาตรฐานญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งสามระบบถึงแม้จะมีความแตกต่างในรายละเอียด แต่ก็ใช้หลักการและเทคโนโลยีมาตรฐานเดียวกันคือ ดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ
ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มีอยู่ด้วยกันหลายระบบ และมีให้บริการในหลายประเทศบางประเทศ เรียกชื่อแตกต่างกัน บางประเทศนำไปปรับปรุงและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อการใช้งานในประเทศของตน อย่างไรก็ตามทุกระบบก็มีวัตถุประสงค์การใช้งานที่เหมือนกันคือ
การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ระบบ Trunked Radio เพื่อการสื่อสาร
Trunked Radio หรือระบบวิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ เป็นเครือข่ายวิทยุสื่อสาร ที่มีการทำงานคล้ายกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะมีสถานีกลาง (System Control) ทำหน้าที่จัดช่องสัญญาณให้มีจำนวนช่องสัญญาณเพียงพอในการรองรับการใช้งานของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดในระบบ มีสถานีทวนสัญญาณ (Repeater Station) ทำหน้าที่เชื่อมโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ของเครือข่ายนั้นๆ และเลือกช่องสัญญาณที่ ว่างอยู่ให้ลูกข่ายโดยอัตโนมัติ อีกทั้งสามารถเรียกเฉพาะเครื่องลูกข่ายที่ต้องการติดต่อได้ และมีระบบการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม (Private Call) โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระบบการเชื่อมต่อระบบโทรคมนาคมอื่น (PCM Switch) และมี โปรโตคอล MPT 1327 เป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน ภาพรวมของวิทยุทรั้งค์ จะเห็นว่ามันคือ เซลลูลาร์ ชนิดหนึ่งเพียงแต่ว่า “ไม่เสียค่า แอร์ไทม์”
ในยุคต้น ระบบ TRUNKED RADIO และ CONVENTIONAL LAND MOBILE เป็นเทคโนโลยีแบบ อะนาลอก ซึ่งไม่มีความปลอดภัยหรือเป็นส่วนตัวมากนัก อีกทั้งยังเป็นการใช้ความถี่วิทยุที่ค่อนข้างจะสิ้นเปลือง แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบเหล่านี้เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งนับได้ว่าเป็นระบบที่มีความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยของข้อมูลสูง ที่สำคัญเป็นเทคโนโลยีที่สามารถบริหารจัดการการใช้ความถี่วิทยุได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาไปสู่ระบบดิจิทัลยังสามารถรวมเอาคุณสมบัติการสื่อสารทั้งแบบ TRUNKED RADIO และ CONVENTIONAL LAND MOBILE เข้าด้วยกันได้ โดยเรียกว่าระบบ DIGITAL TRUNKED RADIO
วิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ ในประเทศไทยใช้สำหรับติดต่อภายในกลุ่มองค์กรใหญ่หรือหน่วยงานราชการ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นระบบดิจิตอลแล้ว ก็ได้มีการพัฒนาความสามารถของระบบให้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความสามารถที่ลูกข่ายสามารถติดต่อกันเองได้โดยไม่ต้องผ่านการควบคุม และจัดการโดยสถานีแม่ข่าย หรือแม้แต่การเพิ่มความสามารถในการรองรับ-ส่งภาพเคลื่อนไหวแบบ Multi media รวมถึงการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เทคโนโลยีต่างๆ ได้มีการพัฒนาที่แตกต่างกันไปในทางเทคนิค แต่ยังคงมีเป้าหมายของการพัฒนาที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน นั่นคือระบบโทรคมนาคมที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากที่สุด
ปัจจุบันมีย่านความถี่สำหรับใช้งานระบบวิทยุ ทรั้งค์ หลายย่านความถี่ และมีความต้องการใช้งานหลายหน่วยงาน ทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ตำรวจ ทหาร กรมการปกครอง การไฟฟ้า การประปา โรงพยาบาล วิทยุการบิน หรือแม้แต่ ระบบวิทยุแท็กซี่ เป็นต้น
ในอดีตแผนความถี่สำหรับวิทยุ ทรั้งค์ สำหรับประเทศไทย มีเพียง แผนความถี่วิทยุ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz ซึ่งได้จัดทำขึ้นโดย กรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อ กุมภาพันธ์ 2535 เพียงฉบับเดียว ปัจจุบัน กสทช. ได้ยกร่างแผนความถี่ วิทยุทรั้งค์ ไว้ถึง 5 ย่านความถี่ และกำลังเตรียมการจัดทำประชาพิจารณ์แผนความถี่วิทยุดังกล่าว
ซึ่งการจัดทำแผนความถี่วิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ หรือ Trunked Radio Frequency Plan ทั้ง 5 ย่านความถี่ ได้แก่
o ย่านความถี่วิทยุ 380-399.9 MHz
o ย่านความถี่วิทยุ 421.8-422.95 / 433.8-434.95 MHZ
o ย่านความถี่วิทยุ 484-489 / 494-499 MHZ
o ย่านความถี่วิทยุ 806-821 / 851-866MHZ
o ย่านความถี่วิทยุ 821-824 / 866-869MHZ
o ย่านความถี่วิทยุ 380-399.9 MHz
o ย่านความถี่วิทยุ 421.8-422.95 / 433.8-434.95 MHZ
o ย่านความถี่วิทยุ 484-489 / 494-499 MHZ
o ย่านความถี่วิทยุ 806-821 / 851-866MHZ
o ย่านความถี่วิทยุ 821-824 / 866-869MHZ
โดยในแผนความถี่วิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ ประกอบไปด้วย การกำหนดช่องสัญญาณและคู่ความถี่วิทยุ การกำหนดกลุ่มช่องสัญญาณ รวมถึงเงื่อนไขการใช้งานบริเวณชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการรบกวนที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งภายในข่ายสื่อสารของตนเอง และข่ายสื่อสารอื่นๆ
บางเงื่อนไขที่น่าสนใจกับการใช้งานบริเวณชายแดน ที่น่าสนใจคือ ไทย และ มาเลเซีย ซึ่งได้มีคณะกรรมการประสานงานการใช้ความถี่บริเวณของทั้งสองประเทศได้มีข้อตกลง และความสัมพันธ์ที่ดีมายาวนาน โดยย่านความถี่ 380-399.9 MHz ในบริเวณชายแดนไทยกับประเทศมาเลเซีย มีการแบ่งกลุ่มความถี่วิทยุ ดังนี้
o ช่วงความถี่วิทยุ 380.00-382.50/390.00-392.50 MHz และช่วงความถี่วิทยุ 385.00-387.50/395.00-397.50 กำหนดสำหรับฝ่ายไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น